แนวคิดและวิธีการคำนวณต้นทุน
Menu :
1.หลักการและเหตุผล
2.วิธีการในการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐาน
3.ผลการจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของรายการกิจกรรมบริการ
4.ผลการทดสอบการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์
5.การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการสุขภาพ
6.การวิเคราะห์ต้นทุนบริการเภสัชกรรม
7.การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโครงการบริการวัคซีนแห่งชาติ
8.การวิเคราะห์ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์
9.ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนค่าลงทุนและต้นทุนทางอ้อม
10.ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนทางอ้อม
11.วิจารณ์และเสนอแนะ
12.อ้างอิง
1. หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

          ดังที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการประเมินทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการตัดสินใจตั้งแต่การปฏิบัติงานระดับต่างๆ จนถึงการบริหารงานเชิงนโยบายในระดับชาติ แต่ในการดำเนินการประเมินก็พบว่ามีปัญหาอุปสรรค (hurdles) หลายประการ รวมทั้งในการประเมินต้นทุนด้วย  ปัญหาในการประเมินต้นทุนที่เป็นข้อโต้แย้งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ (controversial issues) อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ แนวคิด (concepts) วิธีการ (methods) และการกำหนดค่าอ้างอิงที่ใช้ในการวิเคราะห์ (reference values) [1, 2]  ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ต้นทุน ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอาจไม่ได้เกิดจากปริมาณทรัพยากรที่ใช้แตกต่างกัน แต่เป็นผลมาจากการใช้แนวคิด วิธีการคำนวณ และค่าอ้างอิงที่แตกต่างกัน  เหตุการณ์เช่นนี้ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ต้นทุนที่โรงพยาบาลอำเภอขนาด 60 เตียง พบว่าการคำนวณต้นทุนค่าลงทุนต่อปีด้วยแนวทางอิงหลักการทางบัญชี (accounting-based approach) จะได้ต้นทุนน้อยกว่าการคำนวณโดยแนวทางอิงหลักเศรษฐศาสตร์ (economic-based approach) 934,648 บาท (ค่าเงินในปี พ.ศ.2545) มูลค่าที่แตกต่างคิดเป็นร้อยละ 13 ของการคำนวณที่อิงหลักเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการเปลี่ยนอัตราลดจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 6 ทำให้ค่าลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 [3]

          การคำนวณต้นทุนประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การจำแนกประเภทต้นทุนที่จะนำมาวิเคราะห์ (Identification of resources use) การวัดปริมาณทรัพยากรที่ใช้ (Measuring resource use) และการแปลงค่าทรัพยากรเป็นมูลค่าการเงิน (Valuation of resource use) [4-6]  ในขั้นตอนการแปลงค่าทรัพยากรเป็นมูลค่าเงินต้องใช้ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยไปคูณกับปริมาณทรัพยากรที่ใช้แต่ละชนิด

          ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าโดยหลักการแล้วต้องใช้ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ แต่ในทางปฏิบัติอาจใช้ต้นทุนประเภทอื่นๆ เป็นตัวแทนก็ได้  ได้มีการสรุปแหล่งข้อมูลต้นทุนไว้ดังนี้ [7]

1.         การคำนวณต้นทุนโดยตรง (direct measurement of costs)

2.         การใช้ข้อมูลต้นทุนทางบัญชี (cost accounting methods)

3.         การใช้ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยมาตรฐาน (standard unit costs)

4.         การใช้ข้อมูลที่จ่ายจริงหรือบัญชีรายการค่าบริการ (fee, prices) หรือราคาตามท้องตลาด (market prices)

5.         การใช้ข้อมูลจากการประมาณการ (estimates/extrapolations)

การคำนวณต้นทุนโดยตรงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด (บนข้อสมมุติว่าวิธีวิทยาเหมาะสม) โดยทั่วไปนิยมใช้ต้นทุนจากการคำนวณโดยตรง หรือต้นทุนต่อหน่วยมาตรฐาน แล้วแต่วัตถุประสงค์ ว่าจะใช้ผลการวิเคราะห์ในระดับองค์กรหรือระดับชาติ หากต้องการใช้ผลการวิเคราะห์ในการบริหารงานขององค์กร ก็ควรใช้ข้อมูลต้นทุนขององค์กรนั้นๆ แต่หากเป็นการวิเคราะห์เพื่อจัดทำนโยบายระดับประเทศก็ควรใช้ข้อมูลต้นทุนมาตรฐาน ในกรณีที่ไม่มีต้นทุนต่อหน่วยเฉพาะของหน่วยงานหรือข้อมูลต้นทุนมาตรฐาน อาจใช้ข้อมูลต้นทุนที่ได้จากวิธีอื่นๆ โดยเลือกตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และข้อจำกัดของแต่ละโครงการ

การคำนวณต้นทุนเป็นขั้นตอนสำคัญหนึ่งในการประเมินเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ ในอดีตที่ผ่านมาการประเมินเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพในแต่ละครั้ง นักวิจัยจะทำการเก็บข้อมูลและคำนวณต้นทุนเป็นครั้งๆ ซึ่งใช้เวลาและแรงงานมาก และมีข้อจำกัดในการเป็นตัวแทนที่จะนำผลไปใช้ในระดับประเทศ และงานวิจัยบางส่วนได้ใช้ข้อมูลการจ่ายจริงหรือราคาเรียกเก็บ ซึ่งไม่ใช่ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง ฉะนั้นการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขจะส่งผลให้การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ลดความแตกต่างของวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุน ทำให้สามารถเปรียบเทียบผลระหว่างการศึกษาและสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายระดับชาติได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

2. วิธีการในการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐาน
วิธีการในการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐาน

วิธีการในการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐาน

โดยทั่วไปมีแนวทางการวิเคราะห์ต้นทุน (approach) 2 แบบ ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนแบบมาตรฐานหรือแบบดั้งเดิม (Standard or conventional method) และการวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม (Activity-based costing; ABC) [8]  การวิเคราะห์ต้นทุนแบบมาตรฐานหรือแบบดั้งเดิมเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ระดับหนึ่ง  เริ่มจากการวิเคราะห์องค์กรจัดเป็นหน่วยย่อยเรียกว่าหน่วยต้นทุน ซึ่งเป็นหน่วยที่มีการผลิตผลงานและมีข้อมูลการใช้ทรัพยากรหรือต้นทุน จากนั้นทำการรวบรวมและคำนวณต้นทุนรวมของแต่ละหน่วยต้นทุน แล้วจัดสรรต้นทุนของหน่วยต้นทุนสนับสนุนไปให้หน่วยต้นทุนที่ผลิตผลงานที่ต้องการทราบต้นทุน เมื่อได้ต้นทุนรวมของหน่วยต้นทุนผลิตหลักแล้วจึงทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตที่ต้องการทราบต้นทุน (Cost product) ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรมเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนโดยเริ่มต้นจากการคำนวณต้นทุนของกิจกรรมต่างๆ ขั้นตอนต่อไปเป็นการคำนวณต้นทุนของผลผลิตที่ต้องการทราบต้นทุนโดยรวมของต้นทุนของกิจกรรมที่ใช้ในการผลิตผลผลิตนั้นๆ เข้าด้วยกัน

 

การวิเคราะห์ต้นทุนแบบมาตรฐานหรือแบบดั้งเดิม

          ในการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยแบบมาตรฐานหรือแบบดั้งเดิมในสถานพยาบาล มีขั้นตอนทั่วไป 5 ขั้นตอน [3] ได้แก่

·          การวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดหน่วยต้นทุน (Cost centre identification and grouping)

·        การคำนวณต้นทุนทางตรง (Direct cost determination)

·        การคำนวณต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost allocation)

·        การคำนวณต้นทุนรวม (Full cost calculation)

·        การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost calculation)

ขั้นตอนที่หนึ่ง การวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดหน่วยต้นทุน

ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

1.         กำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการทราบต้นทุนต่อหน่วย (Cost product) 

2.    แจกแจงหน่วยงานย่อยตามโครงสร้างการบริหาร พร้อมพิจารณาว่าแต่ละหน่วยงานผลิตผลงานอะไรบ้างในการให้บริการแก่หน่วยงานอื่นหรือผู้ป่วย

3.         แจกแจงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่มีการรับ-ส่งผลผลิตซึ่งกันและกัน

4.    ทำการแยกประเภทหน่วยต้นทุนตามหลักการวิเคราะห์ต้นทุน ได้แก่ หน่วยรับต้นทุนซึ่งเป็นหน่วยที่ต้องการทราบต้นทุนของผลผลิต และหน่วยต้นทุนชั่วคราว ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุน

 

ขั้นตอนที่สอง การคำนวณต้นทุนทางตรง

ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

1.         กำหนดมุมมองในการวิเคราะห์ ซึ่งในที่นี้ได้แก่ มุมมองของผู้ให้บริการ

2.    กำหนดกรอบเวลาในการวิเคราะห์ โดยทั่วไปจะกำหนด 1 ปีงบประมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนไม่มีปัญหาด้านการเบี่ยงเบนต้นทุนอันเนื่องมาจากการผลิตที่ลดลงในบางช่วงเวลา เช่น ผู้ป่วยน้อยในบางฤดูกาล

3.         กำหนดองค์ประกอบของต้นทุนที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น จะรวมค่าลงทุนหรือไม่

4.    เก็บข้อมูลจำนวนของการใช้ทรัพยากร กรณีมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เลือกเกณฑ์การกระจายและนับจำนวนการใช้ทรัพยากรตามเกณฑ์นั้น เช่น จำนวนพื้นที่ใช้สอยของแต่ละหน่วย

5.         แปลงจำนวนการใช้ทรัพยากรเป็นมูลค่าเงิน

6.         คำนวณต้นทุนทางตรงรวมของแต่ละหน่วยต้นทุน โดยการรวมต้นทุนทั้งหมดเข้าด้วยกัน

ต้นทุนทางตรง (Direct cost) คือ ต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรที่หน่วยงานนั้นๆ โดยตรง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นทุนค่าแรง (Labour cost) ต้นทุนค่าวัสดุ (Material cost) และต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost)

ต้นทุนค่าแรง

ค่าแรง ในที่นี้มีความหมายรวมถึงผลประโยชน์ทั้งหมดที่ผู้ทำงานได้รับจากหน่วยงาน เช่น ค่าจ้างรายวันหรือเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เงินเพิ่มพิเศษ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน เงินสวัสดิการช่วยเหลือบุตร ค่าเล่าเรียนบุตร  เมื่อรวมค่าแรงทั้งหมดของแต่ละคนได้แล้วก็ต้องพิจารณาว่าแต่ละคนได้ทำงานให้กับหน่วยต้นทุนใดบ้าง หากทำงานให้มากกว่าหนึ่งหน่วยต้นทุนก็ต้องพิจารณาว่าจะกระจายต้นทุนไปให้แต่ละหน่วยอย่างไร  วิธีที่นิยมคือ ให้แต่ละคนประมาณสัดส่วนการทำงานของตนเองในแต่ละหน่วย แล้วคำนวณมูลค่าค่าแรงตามสัดส่วนดังกล่าว จากนั้นจึงรวมเป็นค่าแรงรวมของแต่ละหน่วยต้นทุน

ต้นทุนค่าวัสดุ

ในการติดตามรวบรวมข้อมูลอาจแบ่งวัสดุออกเป็น 2 ประเภทคือ

·           วัสดุที่แต่ละหน่วยต้นทุนจัดซื้อเอง เช่น ยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยเภสัชกรรม

·     วัสดุที่มีหน่วยกลางในการจัดซื้อและสนับสนุนแก่หน่วยต้นทุนต่างๆ เช่น วัสดุสำนักงาน  ค่าสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟ โทรศัพท์) นอกจากนี้ยังรวมถึงค่าซ่อมบำรุง ค่าเช่า ค่าจ้างเหมา เช่น การทำความสะอาดอาคาร

ในการคำนวณต้องคำนึงว่าสามารถแยกรายการและมูลค่าตามการใช้ของแต่ละหน่วยได้หรือไม่ หากแยกไม่ได้ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ก็ต้องทำการกระจายดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ควรเลือกเกณฑ์ที่ใช้ในการกระจายที่เหมาะสม สามารถสะท้อนการใช้ทรัพยากรดังกล่าวได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด แต่ก็ไม่ยุ่งยากและใช้แรงงานในการเก็บข้อมูลมากจนเกินไป

ต้นทุนค่าลงทุน

อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือครุภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่จำกัด สภาพจะเสื่อมลงและมูลค่าก็จะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปความนิยมในของสิ่งนั้นจะลดลง (Obsolescence) มูลค่าของของชิ้นนั้นก็จะลดลงตามไปด้วย การคำนวณค่าลงทุนที่อิงแนวคิดค่าเสียโอกาสของเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยค่าเสื่อมราคาของสิ่งของที่ได้ใช้ไปในช่วงเวลาที่ทำการคำนวณ รวมกับค่าเสียโอกาสของมูลค่าที่จ่ายไปล่วงหน้าสำหรับการใช้สิ่งของนั้นในปีต่อๆ มา เป็นวิธีเส้นตรง (Straight line method) คือ การคำนวณต้นทุนค่าลงทุนต่อปีที่กระจายให้เท่ากันทุกปีตลอดอายุการใช้งาน (Equivalent annual cost; E)  สูตรที่ใช้คำนวณได้แก่ [9]

E = K / {[1-(1+r) -n ]/r}           หรือ E = K / Annuity factor

กำหนดให้  

                   E = ต้นทุนค่าลงทุนเฉลี่ยต่อปี

K = มูลค่าการสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างหรือซื้อครุภัณฑ์นั้นๆ ในราคาของปีที่วิเคราะห์ต้นทุน

r = อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่คาดการณ์ในช่วงเวลาที่มีการใช้งาน เช่น การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3  ค่า r = 0.03

                   n = อายุการใช้งานเป็นปี

                   Annuity factor = ค่าที่ได้จากตารางที่กำหนดค่า r และ n อาจเรียกว่า

                               Annualization factor

 

 

K = มูลค่าเดิมที่ซื้อมา x ปัจจัยการปรับค่าเงินเฟ้อ

                   ปัจจัยการปรับค่าเงินเฟ้อ (Inflation adjustment factor) [10]  

                      = ดัชนีราคาของปีที่วิเคราะห์/ดัชนีราคาของปีที่ซื้อมา

          รายการที่มีการใช้ต่อเนื่องจนเกินเกณฑ์อายุการใช้งาน กำหนดให้ยังมีต้นทุนค่าลงทุน [11] โดยในการคำนวณให้ปรับขยายเกณฑ์อายุการใช้นับจากปีที่ซื้อมาจนถึงปีที่วิเคราะห์ต้นทุน

 

ขั้นตอนที่สาม การคำนวณต้นทุนทางอ้อม

ต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) คือ ต้นทุนที่จัดสรรจากต้นทุนทางตรงของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนมาให้หน่วยรับต้นทุน  วิธีการจัดสรรต้นทุนที่นิยมใช้มี 4 วิธี ได้แก่

·          วิธีจัดสรรโดยตรง (Direct allocation method)

·          วิธีจัดสรรทางเดียว (Step down allocation method)

·          วิธีจัดสรรสองครั้ง (Double distribution method)

·          วิธีจัดสรรพร้อมกัน (Simultaneous equation method)

          วิธีที่ให้ผลแม่นยำที่สุด และแนะนำให้ใช้คือ วิธีจัดสรรพร้อมกัน

ขั้นตอนที่สี่ การคำนวณต้นทุนรวม

เป็นการรวมต้นทุนทางอ้อมที่แต่ละหน่วยต้นทุนชั่วคราวจัดสรรให้แต่ละหน่วยรับต้นทุน กับต้นทุนทางตรงของหน่วยรับต้นทุน

ขั้นตอนที่ห้า การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย

กรณีที่หน่วยรับต้นทุนมีผลผลิตเพียงอย่างเดียว หรือมีหลายผลผลิตแต่คิดเสมือนว่ามีลักษณะที่ใกล้เคียงกันสามารถนำมารวมกันได้ (Homogeneous cost products) เช่น การจ่ายยาสำหรับใบสั่งยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สามารถใช้วิธีคำนวณต้นทุนต่อหน่วยด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ย (Average method)

ในกรณีที่หน่วยต้นทุนมีการบริการหลายประเภท และต้องการทราบต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละกิจกรรมบริการ มีวิธีการคำนวณหลายวิธีดังนี้

·          วิธีต้นทุนจุลภาค (Micro-costing) [12, 13]

·          วิธีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาเรียกเก็บ (Ratio of costs to charges) [13, 14]

·          วิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Relative value unit หรือ Weight procedure method) [13, 14]

วิธีต้นทุนจุลภาค

วิธีนี้ผลลัพธ์ต้นทุนต่อหน่วยจะสะท้อนการใช้ทรัพยากรในการผลิตของผลผลิต (กิจกรรมการบริการ) ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่จะต้องอาศัยการทำงานในการรวบรวมข้อมูลมากกว่าวิธีอื่นๆ ด้วยเช่นกัน  หลักการของวิธีนี้คือ การพยายามหาต้นทุนทางตรงของแต่ละผลิตผลให้มากที่สุดก่อน จากนั้นจึงค่อยกระจายต้นทุนที่ใช้ร่วมกันที่เหลืออยู่ ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปสมการได้ดังนี้

CTCi     = CDCi +CDLi +CDMi+ CDEPTi

กำหนดให้

CTCi     = ต้นทุนรวมต่อหน่วยของกิจกรรมบริการ

CDCi     = ต้นทุนลงทุนทางตรงต่อกิจกรรมบริการ

CDLi     = ต้นทุนค่าแรงทางตรงต่อกิจกรรมบริการ

CDMi    = ต้นทุนค่าวัสดุทางตรงต่อกิจกรรมบริการ

CDEPTi = ต้นทุนร่วมที่ได้รับจากการกระจายจากหน่วยต้นทุนของกิจกรรมบริการนั้นๆ

วิธีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาเรียกเก็บ

จากข้อมูลต้นทุนรวมของหน่วยต้นทุน เราสามารถคำนวณอัตราส่วนของต้นทุนกับราคาเรียกเก็บ (Ratio of costs to charges; RCC) ได้ เช่น ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเก็บค่าบริการได้ทั้งหมด (Total charges) 100,000 บาท และต้นทุนรวมที่คำนวณได้คือ 75,000 บาท อัตราส่วนต้นทุนต่อราคา (RCC) คือ 75,000/100,000 = 0.75 ตัวเลขนี้จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณค่าต้นทุนของกิจกรรมบริการ จากราคากำหนดที่กำหนดไว้ เช่น การตรวจเลือดชนิดหนึ่งกำหนดราคา 250 บาท ต้นทุนก็จะเท่ากับ 250 x 0.75 = 187.50 บาท     

วิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์

การวิเคราะห์ด้วยวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Relative value unit; RVU) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัดส่วนทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละบริการ ซึ่งอาจได้จากการวัดทรัพยากรที่ใช้โดยตรง เช่น เวลา ต้นทุน หรืออาจได้จากการประมาณค่าโดยอาศัยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จึงมีความยืดหยุ่นในการวิเคราะห์สูง แม้ว่าอาจให้ผลไม่แม่นยำเท่าการวิเคราะห์ด้วยวิธีจุลภาค แต่ก็ช่วยลดข้อจำกัดในด้านการเก็บข้อมูลที่ต้องใช้เวลามากลงได้ [15, 16] การวิเคราะห์ทำโดยนำค่า RVU ของแต่ละบริการ คูณด้วยจำนวนครั้งของการให้บริการ นำต้นทุนรวมทั้งหมดมาหารด้วยผลรวมค่า RVU จะได้ต้นทุนต่อ 1 RVU ซึ่งนำไปคำนวณต้นทุนของบริการ โดยการคูณค่าต้นทุนต่อหน่วย RVU ด้วยจำนวน RVU ของบริการนั้นๆ

 

การกำหนดค่า RVU โดยทั่วไปทำได้ 2 วิธีคือ [17, 19]

1.   วิธีการจัดลำดับ (Ranking method) ทำโดยเรียงลำดับแต่ละผลผลิตตามค่าประมาณการการใช้ทรัพยากร แล้วจึงประมาณค่า RVU โดยเปรียบเทียบแต่ละผลผลิตกับผลผลิตอันดับแรก อีกวิธีที่คล้ายกันได้แก่ วิธีประมาณค่า subjective value โดยใช้ผลผลิตมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นในการอ้างอิงมาเปรียบเทียบ เช่น กำหนดให้บริการ A เป็นบริการมาตรฐานซึ่งมีค่า work value เท่ากับ 100  ถ้าบริการ B ถูกประมาณว่ามีการทำงานเป็นครึ่งหนึ่งของบริการ A ค่า work value ของบริการ B จะเท่ากับ 50  วิธีนี้ต้องอาศัยการตัดสินใจจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์

2.   วิธีการประเมินการใช้ทรัพยากร (Objective data method) เป็นการกำหนดค่าสัมพัทธ์จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรที่วัดได้ของแต่ละผลผลิต โดยอาจเป็นเวลาที่ใช้ในการให้บริการ ค่าธรรมเนียม ราคา หรือต้นทุน เช่น บริการ A, B และ C มีต้นทุนในการให้บริการเท่ากับ 200, 100 และ 300 บาท ตามลำดับ อาจกำหนดให้ค่า RVU ของบริการ A:B:C เท่ากับ 2:1:3 หรือ 50:25:75 ก็ได้เช่นกัน

การวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม

การวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม (Activity-based costing; ABC) เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนโดยเริ่มต้นจากการรวบรวมต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการดำเนินงาน แล้วคำนวณเป็นต้นทุนของกิจกรรมต่างๆ  ขั้นตอนต่อไปเป็นการคำนวณต้นทุนของผลผลิตที่ต้องการทราบต้นทุนหรือเรียกว่าตัวผลิตภัณฑ์ (Cost product หรือ cost object) โดยรวมต้นทุนของกิจกรรมที่ใช้ในการผลิตผลผลิตนั้นๆ เข้าด้วยกัน

 

การวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม [8, 20] ประกอบด้วย

·          การกำหนดตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ ผลผลิตหรือบริการที่ต้องการทราบต้นทุน  (Cost product identification)

·          การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity analysis) ที่ต้องปฏิบัติในการผลิตตัวผลิตภัณฑ์

·          การวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน (Cost driver analysis)

·    การคำนวณต้นทุนกิจกรรม (Activity costing) โดยแบ่งเป็นต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อมซึ่งจะต้องมีการปันส่วนเข้าสู่กิจกรรมต่างๆ

·    การคำนวณต้นทุนของตัวผลิตภัณฑ์ (Product costing) โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางกิจกรรมเป็นกิจกรรมโดยตรง บางกิจกรรมเป็นกิจกรรมร่วม ก็ต้องมีการปันส่วนกัน

วิธีการคำนวณ

วิธีการคำนวณอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

1.    วิธีการคำนวณสองขั้นตอน (Two-stage approach) ขั้นตอนแรกเป็นการคำนวณต้นทุนของกิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 เป็นการคำนวณต้นทุนของกิจกรรมเข้าสู่ตัวผลิตภัณฑ์

2.    วิธีการคำนวณหลายขั้นตอน (Multiple stage approach) ใช้ในกรณีที่การผลิตประกอบด้วยกิจกรรมที่ซับซ้อน โดยสามารถแบ่งเป็นกิจกรรมสนับสนุนหรือกิจกรรมทุติยภูมิที่ระดับต่างๆ การวิเคราะห์เมื่อได้ต้นทุนของกิจกรรมสนับสนุนแล้ว จะจัดสรรต้นทุนของกิจกรรมสนับสนุน ไปสู่กิจกรรมหลักหรือกิจกรรมปฐมภูมิก่อน จากนั้นจึงรวมต้นทุนของกิจกรรมหลักแล้วรวมต้นทุนของกิจกรรมหลักเป็นต้นทุนของตัวผลิตภัณฑ์

วิธีการจัดทำรายการต้นทุนต่อหน่วยมาตรฐาน

โดยทั่วไปวิธีการจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐานสามารถแบ่งเป็น

·          ต้นทุนที่คำนวณจากทรัพยากรที่ใช้ตามแนวทาง (มาตรฐาน) การให้บริการของแต่ละกิจกรรม

·          ต้นทุนที่คำนวณจากสถานพยาบาลตามสภาพการดำเนินงานที่เป็นอยู่

·          ต้นทุนที่คำนวณจากสถานพยาบาลที่มีการประเมินว่ามีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (และคุณภาพ)

ในการดำเนินงานจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐานครั้งนี้ใช้วิธีการดังนี้

·    การจัดทำรายการต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ ใช้วิธีต้นทุนมาตรฐานและวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์ ดำเนินการโดยคัดเลือกโรงพยาบาลตัวแทนที่ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ

·    การจัดทำรายการต้นทุนต่อหน่วยของสถานีอนามัย ใช้วิธีต้นทุนมาตรฐานและวิธีต้นทุนจุลภาค ดำเนินการในสถานีอนามัยจากหนึ่งอำเภอที่ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ

·    การจัดทำรายการต้นทุนบริการเภสัชกรรมของระดับโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ ใช้วิธีคำนวณต้นทุนอิงกิจกรรม ดำเนินการในโรงพยาบาลตัวแทน

·    การจัดทำรายการต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ดำเนินการในสถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ กระจายอยู่ในภาคต่างๆ

3.1 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์

การออกแบบการวิจัย

การออกแบบการวิจัยแบ่งออกเป็นการจัดทำรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์และการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย

วิธีการจัดทำรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์

ใช้วิธีการประเมินการใช้ทรัพยากร (Objective data method) จึงเริ่มจากการคัดเลือกข้อมูลการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ พบว่ามีการจัดทำอัตราค่าบริการสาธารณสุขในประเทศไทยโดย 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่

-     กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้จัดทำอัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 [21]

-     กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง ได้กำหนดอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นอัตราค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ [22]

-     กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการประกันภัย ได้จัดทำมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2547 [23]

          จากการศึกษาเปรียบเทียบการจัดทำอัตราค่าบริการของบริการทางการแพทย์ดังกล่าว พบว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง ได้มีการจัดทำอัตราค่าบริการสาธารณสุขโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนที่อิงแนวทางการปฏิบัติ (มาตรฐาน) ที่กำหนดโดยคณะทำงาน จากนั้นประมาณการค่าต้นทุนที่ใช้ของแต่ละกิจกรรมตามประเภทต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน รวมทั้งต้นทุนทางอ้อม (ค่าบริหารจัดการ) และต้นทุนการพัฒนา (Future development) โดยกรมบัญชีกลางได้ใช้ข้อมูลจากอัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุข ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 เป็นฐานในการคำนวณ  การวิเคราะห์องค์ประกอบต้นทุนของทั้ง 2 หน่วยงานนั้นมีหลักการคิดเหมือนกัน ยกเว้นกระทรวงการคลังคิดเฉพาะค่าตอบแทนที่เป็นเงินนอกงบประมาณในอัตราร้อยละ 50 จากต้นทุนแรงงานของกระทรวงสาธารณสุข  ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการประกันภัยนั้น ได้จัดทำอัตราค่าบริการ โดยวิเคราะห์ต้นทุนจากค่ากลางของอัตราการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลของสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน

การศึกษาครั้งนี้เลือกใช้ข้อมูลอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ.2549 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกรมบัญชีกลางเป็นหลัก เนื่องจากเป็นรายการมาตรฐานที่มีการใช้ในระดับประเทศ และวิเคราะห์อัตราค่าบริการในส่วนที่ขาดเพิ่มจากข้อมูลอัตราค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุข แต่เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวมีเฉพาะในส่วนของบริการด้านการรักษาพยาบาลเท่านั้น ผู้วิจัยจึงดำเนินการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนรายกิจกรรมของการบริการด้านเวชกรรมสังคม [24] เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเลือกโรงพยาบาลสระบุรีเป็นพื้นที่ในการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีผลการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโรงพยาบาลอยู่ในระดับดีตามผลการศึกษา การพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานเพื่อประเมินโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในประเทศไทย[25] และมีระบบโครงสร้างของข้อมูลเหมาะสมซึ่งเอื้อต่อการศึกษา

การจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์มีขั้นตอนดังนี้

1.    การปรับค่าต้นทุนบริการด้านเวชกรรมสังคมให้สอดคล้องกับอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ.2549 โดยวิเคราะห์ค่าแรงร้อยละ 50 ของค่าแรงทั้งหมด และบวกต้นทุนด้านการพัฒนา (Future development cost) ร้อยละ 25 ของต้นทุนรวม (Direct cost + Overhead cost)

 

              Price          =    Direct cost + Overhead cost + Future development cost

 

              Direct cost   =    50%LC + MC + CC

 

2.    การปรับค่าต้นทุนรายการต้นทุนที่ไม่มีอยู่ในรายการค่าบริการของกรมบัญชีกลาง (รายการหัตถการในห้องผ่าตัด รายการบริการทางทันตกรรมและบริการอื่นๆ ที่ไม่สามารถเบิกได้) โดยใช้ค่าเฉลี่ยสัดส่วนราคา (Adjusting factor) ระหว่างอัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลางและอัตราค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุข ในหมวดค่าทำหัตถการและวิสัญญี และหมวดค่าบริการทางทัน-ตกรรมไปปรับราคาค่าบริการที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข

 


Adjusting factor   =   

             

โดย              CGD price      =      ราคาค่าบริการของกรมบัญชีกลาง                  

MOPH price    =      ราคาค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุข

N                 =      จำนวนรายการที่นำมาวิเคราะห์    


จากนั้นคำนวณเป็นราคาของกรมบัญชีกลาง โดยนำอัตราค่าบริการที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุขคูณกับปัจจัยการปรับค่า

 

CGD price      =    MOPH price x Adjusting factor

 

3.    คำนวณค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการสุขภาพในประเทศไทยด้วยวิธี Objective data จากข้อมูลอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ.2549 รวมทั้งรายการที่คำนวณเพิ่มเติม และข้อมูลต้นทุนรายกิจกรรมของการบริการด้านเวชกรรมสังคมที่ปรับราคาแล้ว (ที่ได้จากข้อ 1, 2) โดยนำราคาค่าบริการดังกล่าวหารด้วย 100 เพื่อปรับให้เป็นตัวเลขค่าต้นทุนสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน

4.    ประเมินความครอบคลุมของรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการสุขภาพที่ได้ โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากข้อมูลผลงานการบริการทั้งหมดของโรงพยาบาลสระบุรี ปีงบประมาณ 2550 โดยพิจารณาจากชื่อรายการบริการและรหัสรายการของกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นตัวเลข 5 หลักที่แนบมา สำหรับรายการบริการของโรงพยาบาลที่ไม่ระบุรหัสบริการของกรมบัญชีกลางได้จัดทำเป็นรายการเพิ่มโดยคำนวณค่าต้นทุนสัมพัทธ์จาก อัตราค่าบริการที่โรงพยาบาลกำหนดคูณด้วยค่าเฉลี่ยสัดส่วนราคา (Adjusting factor) หารด้วย 100

 


RVU   =  

 

5.        การทดสอบการคำนวณต้นทุนที่ได้จากวิธี RVU

-    วิเคราะห์ผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Total RVUs) ของโรงพยาบาลสระบุรี ปีงบประมาณ 2550 โดยนำปริมาณผลงาน (Output) ในแต่ละบริการคูณด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการนั้นๆ

 

Total RVUs   =   sum of (RVU x Output)

 

-    วิเคราะห์ต้นทุน (บาท) ต่อ 1 RVU โดยนำต้นทุนรวมของโรงพยาบาลลบต้นทุนค่ายา แล้วหารด้วยผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์

 


1 RVU   =     

 


-   จากข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วย โรงพยาบาลสระบุรี ปีงบประมาณ 2545 [26] ซึ่งวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยวิธีต้นทุนจุลภาค ทำการคัดเลือกกิจกรรมบริการในหน่วยงานจุลชีววิทยา งานเคมีคลินิก งานโลหิตวิทยา และงานภูมิคุ้มกันวิทยา ที่ตรงกันกับรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ที่จัดทำขึ้น

-   คำนวณต้นทุนรวมของการบริการ ปีงบประมาณ 2545 ที่ถูกเลือก (Full cost) โดยนำปริมาณผลงานของแต่ละบริการ (Output) คูณด้วยต้นทุนต่อหน่วยของบริการนั้นๆ (Unit cost)

 

Full cost = Sum of (Output x Unit cost)

 

-   คำนวณผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของการบริการ ปีงบประมาณ 2545 ที่ถูกเลือก (Total RVUs) โดยนำปริมาณผลงานของแต่ละบริการ (Output) คูณด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการนั้นๆ (RVU)

 

Total RVUs = Sum of (Output x RVU)

 

-   วิเคราะห์ต้นทุน (บาท) ต่อ 1 RVU โดยนำต้นทุนรวมทั้งหมด (Full cost) หารด้วยผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Total RVUs)

 


1 RVU =

 

-   วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย โดยนำต้นทุน (บาท) ต่อ 1 RVU ที่ได้ คูณด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของแต่ละบริการ (RVU) จะได้ต้นทุนต่อหน่วยของบริการนั้นๆ

-   เปรียบเทียบผลลัพธ์ต้นทุนต่อหน่วยที่คำนวณได้จากวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์กับต้นทุนต่อหน่วย ที่คำนวณได้จากวิธีต้นทุนจุลภาค

 

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

3. ผลการจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของรายการกิจกรรมบริการ
ผลการจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของรายการกิจกรรมบริการ

ผลการจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของรายการกิจกรรมบริการ

ผลการวิเคราะห์นำเสนอในรูปของรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการสุขภาพในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 12 กลุ่ม โดยอิงการจำแนกหมวดในคู่มืออัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ.2549 ได้แก่

กลุ่มที่ 1: การบริการห้องและอาหาร

กลุ่มที่  2: การบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต

กลุ่มที่ 3: การบริการตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา

กลุ่มที่ 4: การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา

กลุ่มที่  5: การบริการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ

กลุ่มที่ 6: การบริการอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์

กลุ่มที่ 7: การบริการทำหัตถการและวิสัญญี

กลุ่มที่ 8: การบริการทางการพยาบาล

กลุ่มที่ 9: การบริการทางทันตกรรม

กลุ่มที่ 10: การบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู

กลุ่มที่ 11: การบริการฝังเข็ม และการบริการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น

กลุ่มที่ 12: การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*

* หมายเหตุ:

-   กลุ่มที่ 12 การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ได้ทำการกำหนดเพิ่ม เนื่องจากในคู่มืออัตราค่าบริการสาธารณสุขไม่ได้จัดทำไว้

-   รายการในคู่มืออัตราค่าบริการสาธารณสุขหมวดที่ 2-5 ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด และค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ไม่ได้ดำเนินการจัดทำค่าต้นทุนสัมพัทธ์ ให้ใช้ราคาต้นทุนที่จัดซื้อของหน่วยงาน หรือราคากลางที่รวบรวมโดยศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th/) [27]

รายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการสุขภาพที่นำเสนอประกอบด้วย

·     รายการบริการ

·     หน่วยนับ

·     รหัสรายการ

-    ตัวเลข 5 หลัก (XXXXX) สำหรับรายการที่อยู่ในกรอบการบริการของกรมบัญชีกลาง โดยยึดตามรหัสที่กรมบัญชีกลางกำหนด

-    ตัวเลข 5 หลัก และมีรหัสย่อย 1-3 หลักต่อท้าย (XXXXX-x, xx, xxx) สำหรับรายการที่อยู่นอกกรอบการบริการที่กรมบัญชีกลางกำหนด

-    ตัวเลข 5 หลักที่มี HP นำหน้า (HPXXXXX) สำหรับรายการบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งพัฒนาค่าต้นทุนสัมพัทธ์จากข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายกิจกรรมของบริการด้านเวชกรรมสังคม       

·  ค่าสัมพัทธ์เป็นชุดของตัวเลขที่มีทศนิยม 1 หลัก (เนื่องจากให้ความละเอียดมากพอที่จะเปรียบเทียบปริมาณการใช้ทรัพยากรในแต่ละบริการได้)

รายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการสุขภาพที่จัดทำครั้งนี้ ประกอบด้วยการบริการทั้งหมด 3,091 รายการ เป็นรายการที่จัดทำขึ้นใหม่เนื่องจากอยู่นอกเหนือกรอบการบริการที่กำหนดในอัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลางจำนวน 281 รายการ

 

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

4. ผลการทดสอบการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์
ผลการทดสอบการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์

ผลการทดสอบการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์

1.         การทดสอบวิเคราะห์ต้นทุนต่อ 1 RVU

จากข้อมูลสถิติการให้บริการของโรงพยาบาล เมื่อทำการจัดกลุ่มข้อมูลจำแนกตามรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ที่จัดทำขึ้น พบว่ามีการให้บริการ 1,446 รายการ จำนวนครั้งของการให้บริการทั้งหมดเท่ากับ 2,150,446 ครั้ง  เมื่อนำจำนวนครั้งในแต่ละบริการคูณด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการนั้นๆ พบว่าผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์เท่ากับ 5,228,155 หน่วย

ในปีงบประมาณเดียวกัน โรงพยาบาลมีต้นทุนรวมทั้งสิ้น 1,108,428,445 บาท ลบในส่วนของค่ายา 342,540,878 บาท คงเหลือต้นทุนรวม 765,887,567 บาท เมื่อหารค่าที่ได้นี้ด้วยผลรวมจำนวนหน่วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์พบว่า ค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการ 1 หน่วย มีค่าเท่ากับ 146.49 บาท

2.         การเปรียบเทียบผลลัพธ์ต้นทุนต่อหน่วยที่วิเคราะห์ได้จากวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์กับวิธีต้นทุนจุลภาค

การเปรียบเทียบกิจกรรมบริการจากข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยวิธี Micro-costing กับวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์ในหน่วยงานจุลชีววิทยา งานเคมีคลินิก งานโลหิตวิทยา และงานภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างมีค่าเท่ากับ 36 บาท (SD= 30)

 

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

5. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการสุขภาพ
การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการสุขภาพ

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการสุขภาพ

การออกแบบการวิจัย

การวิเคราะห์ต้นทุนใช้วิธีต้นทุนมาตรฐานและวิธีค่าต้นทุนสัมพัทธ์เป็นต้นทุนที่ปีงบประมาณ 2552

องค์ประกอบของต้นทุน

ต้นทุนทางตรงประกอบด้วยต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost) ได้แก่ ค่าลงทุนของครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสิ่งก่อสร้าง คำนวณโดยอิงแนวคิดค่าเสียโอกาสทางเศรษฐศาสตร์ (Economic-based approach) และใช้อัตราลด (Discount rate) ที่ร้อยละ 3  นอกจากนี้ครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างที่หมดอายุการใช้งานแล้วแต่ยังมีการใช้งานอยู่ จะนำมาคำนวณค่าลงทุนด้วย โดยปรับเกณฑ์อายุการใช้โดยนับจากปีที่เริ่มใช้งานถึงปีที่ทำการวิเคราะห์  ต้นทุนค่าแรง (Labour cost) ได้แก่ เงินเดือน ค่าตอบแทน เงินประจำตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการฝึกอบรมหรือปฏิบัติราชการนอกสถานที่ และผลประโยชน์อื่นๆ (Fringe benefits) เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น  ต้นทุนค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าวัสดุสำนักงานและวัสดุอื่นๆ ค่าน้ำมัน และค่าซ่อมบำรุง ค่าเหมาจ่ายหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลตามจริงที่หน่วยต้นทุนได้ใช้ไป รวมถึงค่าสาธารณูปโภคซึ่งไม่สามารถจำแนกการใช้ในแต่ละหน่วยต้นทุนได้ จึงพิจารณาจัดสรรไปยังหน่วยต้นทุนต่างๆ โดยใช้เกณฑ์ดังนี้

·          ค่าไฟฟ้า แบ่งตามสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยของหน่วยต้นทุน

·    ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม แบ่งตามสัดส่วนหน่วยแรงงานเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) ของหน่วยต้นทุน

กลุ่มตัวอย่าง

โรงพยาบาลที่ถูกคัดเลือกเข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงพยาบาลที่มีผลการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโรงพยาบาลอยู่ในระดับดี จากการศึกษา ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนของสถานพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์และทั่วไป 95 แห่งในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [28] และมีระบบโครงสร้างของข้อมูลเหมาะสมซึ่งเอื้อต่อการศึกษาและสนใจเข้าร่วมการวิจัย โดยดำเนินการในโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ 3 แห่ง โรงพยาบาลอำเภอ 2 แห่ง

ขั้นตอนการคำนวณ

หลังจากจัดหน่วยต้นทุนและคำนวณต้นทุนทางตรงแล้ว จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนทางอ้อม โดยการจัดสรรต้นทุนทางตรงของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนมาให้หน่วยงานที่ให้บริการต่างๆ  วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ วิธีจัดสรรพร้อมกัน (Simultaneous equation method) โดยใช้เกณฑ์การจัดสรรที่พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต้นทุน ได้แก่ จำนวน FTE ของแต่ละแผนก จำนวนผู้ป่วยที่ให้บริการ จำนวนชิ้นวัสดุที่แต่ละหน่วยงานได้รับบริการ เป็นต้น  การวิเคราะห์ต้นทุนรวมโดยการรวมต้นทุนทางอ้อมเข้ากับต้นทุนทางตรงของแต่ละหน่วยต้นทุน  ในส่วนผลผลิตเก็บข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล

ในการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ดำเนินการดังนี้

1.    คำนวณผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Total RVUs) ของแต่ละรายการกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล โดยนำปริมาณผลงานทั้งหมด (Output) ของแต่ละบริการ คูณด้วยค่าต้นทุนสัมพัทธ์ของบริการนั้นๆ

2.    คำนวณผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (Total RVUs) ทั้งหมดทุกรายการกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล โดยเป็นผลรวมทั้งหมดของผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (RVUs) ของแต่ละรายการกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์

3.    คำนวณต้นทุนต่อ 1 RVU โดยการนำต้นทุนรวมของโรงพยาบาล (Full cost) ลบด้วยต้นทุนของกลุ่มงานเภสัชกรรมและงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เนื่องจากคำนวณต้นทุนของบริการดังกล่าวแยกต่างหาก เพราะไม่มีการกำหนดค่า RVU ของยาและบริการเภสัช-กรรม และไม่มีการบันทึกผลงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล จากนั้นนำมาหารด้วยผลรวมค่าต้นทุนสัมพัทธ์ทั้งหมด

4.    คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละรายการกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล โดยหลังจากคำนวณได้ค่าต้นทุนต่อ 1 RVU มูลค่าต้นทุนต่อหน่วย RVU ของโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ และโรงพยาบาลชุมชน จะเท่ากับ 134.95 บาท และ 128.67 บาท ตามลำดับ แล้วนำค่าต้นทุนต่อ 1 RVU ดังกล่าว ไปคูณกับค่าต้นทุนสัมพัทธ์ (RVU) ของแต่ละรายการกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ ได้ผลลัพธ์เป็นต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์นั้นๆ

การวิเคราะห์และนำเสนอผล

เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลมีชนิดของการให้บริการไม่เหมือนกันทั้งหมด จึงได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยแยกตามกลุ่มระดับโรงพยาบาล โดยนำค่า RVU รวมของโรงพยาบาล   ในกลุ่มระดับเดียวกันมารวมกัน และรวมต้นทุนของทุกโรงพยาบาลในกลุ่มเข้าด้วยกันเช่นกัน จากนั้นจึงคำนวณต้นทุนต่อหน่วย RVU ของโรงพยาบาลในกลุ่มนั้น แล้วนำไปคูณกับจำนวน RVU ของแต่ละกิจกรรม ได้เป็นต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมนั้นๆ

3.2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของสถานีอนามัย

การออกแบบการวิจัย

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยสถานีอนามัยใช้วิธีต้นทุนมาตรฐานและวิธีต้นทุนจุลภาค  ในการจำแนกหน่วยต้นทุนใช้กลุ่มกิจกรรมเป็นเสมือนหน่วยต้นทุน

 

หน่วยต้นทุน

รหัส

งานบริหารจัดการ

T1

งานรักษาพยาบาล

A1

งานส่งเสริมสุขภาพ

A2

งานควบคุมโรคไม่ติดต่อฯ

A3

งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป

A4

งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

A5

งานควบคุมโรคเอดส์ฯ

A6

งานสาธารณสุขมูลฐาน

A7

งานทันตสาธารณสุข

A8

งานอาชีวอนามัย

A9

งานคุ้มครองผู้บริโภค

A10

งานสุขศึกษา

A11

ตารางที่ 1 การจัดหน่วยต้นทุนของสถานีอนามัย

T หมายถึง หน่วยต้นทุนชั่วคราว (Transient cost center)

A หมายถึง หน่วยรับต้นทุน (Absorbing cost center)

 

องค์ประกอบของต้นทุน

กรอบต้นทุนในการวิเคราะห์ประกอบด้วยค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุนซึ่งรวมถึงอาคาร แต่ไม่รวมค่าที่ดิน และไม่รวมต้นทุนทางอ้อมจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.)

รายละเอียดต้นทุนประกอบด้วย

1.        ต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost) ประกอบด้วยมูลค่าพื้นที่ตึกสำนักงาน ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ

2.        ต้นทุนค่าวัสดุ (Material cost) ประกอบด้วยมูลค่าวัสดุต่างๆ และสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ  ค่าไฟ

3.    ต้นทุนค่าแรง (Labour cost) ค่าแรงของเจ้าหน้าที่ทุกคน  ค่าแรงประกอบด้วย เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา ค่าสวัสดิการต่างๆ

ค่าลงทุนของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ และยานพาหนะคำนวณโดยสูตรคำนวณค่าลงทุนโดยอิงหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ใช้อัตราลดร้อยละ 3

กระจายต้นทุนทางตรงให้กับหน่วยต้นทุนโดยการประมาณการสัดส่วนการใช้งาน

จัดสรรต้นทุนทางอ้อมจากงานบริหารจัดการโดยวิธีจัดสรรโดยตรง (Direct allocation) ใช้มูลค่าต้นทุนทางตรงเป็นเกณฑ์ในการจัดสรร

กลุ่มตัวอย่าง

คัดเลือกพื้นที่ตามความสมัครใจ ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จำนวน 19 สถานีอนามัย จาก 9 อำเภอ

การวิเคราะห์และนำเสนอผล

คำนวณต้นทุนของปี พ.ศ.2550 แล้วปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค กลุ่มการบริการทางการแพทย์ (medical care) เป็นราคาของปี พ.ศ.2552

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

6. การวิเคราะห์ต้นทุนบริการเภสัชกรรม
3

การวิเคราะห์ต้นทุนบริการเภสัชกรรม

การคำนวณต้นทุนบริการเภสัชกรรมดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการค่ายาและบริการ เภสัชกรรม ภายใต้คณะกรรมการกำหนดอัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

การออกแบบการวิจัย

การวิเคราะห์ต้นทุนอิงกิจกรรม (Activity-based costing; ABC) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ การจำแนกรายการตัวผลิตภัณฑ์ (cost product identification) การวิเคราะห์กิจกรรม (activity analysis) การวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน (cost driver analysis) การคำนวณต้นทุนรายกิจกรรม (activity costing) และการคำนวณต้นทุนของผลผลิต (product costing)  การคำนวณเป็นแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ การจัดสรรต้นทุนกิจกรรมทุติยภูมิตามลำดับสู่ต้นทุนปฐมภูมิ และสุดท้ายต้นทุนของตัวผลิตภัณฑ์

องค์ประกอบของต้นทุน

ต้นทุนประกอบด้วย

1.    ต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost) ประกอบด้วยมูลค่าพื้นที่ตึกสำนักงาน ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ  มูลค่าอาคารคำนวณจากพื้นที่ใช้งาน โดยอ้างอิงค่าก่อสร้างกลางที่ 17,500 บาทต่อตารางเมตร อายุการใช้งานอาคาร 25 ปี และครุภัณฑ์ 5 ปี อัตราลดร้อยละ 3

2.    ต้นทุนค่าวัสดุ (Material cost) ประกอบด้วยมูลค่าวัสดุต่างๆ ยกเว้นค่ายา (การวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดให้ค่าน้ำ ค่าไฟจัดให้อยู่ในส่วนของต้นทุนทางอ้อม)

3.    ต้นทุนค่าแรง (Labour cost) ค่าแรงของเจ้าหน้าที่ทุกคน  ค่าแรงประกอบด้วยเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา ค่าสวัสดิการต่างๆ

ค่าลงทุนของอาคาร สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์คำนวณโดยสูตรคำนวณค่าลงทุนโดยอ้างอิงหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ในส่วนต้นทุนทางอ้อมจะประมาณการที่อัตราร้อยละ 20 ของต้นทุนทางตรง

กลุ่มตัวอย่าง

โรงพยาบาลที่ยินดีเข้าร่วมและมีข้อมูลสมบูรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตะกั่วป่า มหาราชนครศรีธรรมราช พระพุทธบาท แม่สอด สมุทรสาคร สระบุรี สรรพสิทธิประสงค์ หาดใหญ่ และอุดรธานี

ขั้นตอนการคำนวณ

แบ่งออกเป็น 4 รอบ ได้แก่

การคำนวณต้นทุนรอบที่หนึ่ง เป็นการคำนวณต้นทุนทางตรงของทุกกิจกรรมโดยกำหนดเวลาแรงงาน เวลาที่ใช้อุปกรณ์ และมูลค่าวัสดุต่อชิ้นงาน คูณด้วยจำนวนผลผลิตรวม จากนั้นเอาไปคำนวณสัดส่วน นำไปกระจายต้นทุนรวมค่าแรง ค่าลงทุน และค่าวัสดุของฝ่ายเภสัชกรรม ได้เป็นต้นทุนรวมรายกิจกรรม

         การคำนวณต้นทุนรอบที่สอง จัดสรรต้นทุนทางอ้อมจากฝ่ายสนับสนุนของโรงพยาบาล (ประมาณการที่อัตราร้อยละ 20 ของต้นทุนทางตรง) ใช้วิธีจัดสรรโดยตรง โดยใช้มูลค่าต้นทุนทางตรงเป็นเกณฑ์การจัดสรร

         การคำนวณต้นทุนรอบที่สาม จัดสรรต้นทุนของกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การจัดซื้อ บริหารคลัง หน่วยข้อมูลยา และการประเมินการใช้ยา ให้กับกิจกรรมการผลิตยา การเตรียมการจ่ายยา การบริการจ่ายยา และการบริการทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย ใช้วิธีจัดสรรโดยตรง โดยใช้มูลค่าต้นทุนรวมของกิจกรรมรับต้นทุนเป็นเกณฑ์การจัดสรร

การคำนวณต้นทุนรอบที่สี่ จัดสรรต้นทุนของกิจกรรมการแบ่งบรรจุให้กับกิจกรรมการจ่ายยา ใช้วิธีจัดสรรโดยตรง โดยใช้มูลค่าต้นทุนรวมของกิจกรรมรับต้นทุนเป็นเกณฑ์การจัดสรร

การวิเคราะห์และนำเสนอผล

ข้อมูลต้นทุนที่เก็บเป็นของปี พ.ศ.2551 แล้วปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค  กลุ่มการบริการทางการแพทย์ (medical care) เป็นมูลค่าที่ราคาของปี พ.ศ.2552 นำเสนอผลด้วยสถิติเชิงบรรยาย

 

ตารางที่ 1 กิจกรรมของฝ่ายเภสัชกรรม

กิจกรรม

รหัส

ประเภทงาน

หน่วยนับ

1. การจัดซื้อ

10

สนับสนุน

 

   1.1  ตกลงราคากรณีพิเศษ

11

 

ใบสั่ง

   1.2  พิเศษ/สอบราคา

12

 

ครั้ง

   1.3  ประกวดราคา/E-Auction

13

 

ครั้ง

2.  การเบิก-จ่าย (คลังเวชภัณฑ์)

20

สนับสนุน

 

    2.1 การรับยาเข้าคลัง

21

 

ใบสั่งหรือใบเบิก

    2.2  การเบิก/จ่ายยา

22

 

ใบสั่งหรือใบเบิก

3.  การผลิตยา

30

บริการผู้ป่วย

 

    3.1  ยาน้ำ

31

 

ครั้ง

    3.2  ยาครีม/ยาขี้ผึ้ง/น้ำเกลือผง

32

 

ครั้ง

    3.3  ยาใช้ภายนอก/น้ำยาฆ่าเชื้อ

33

 

ครั้ง

    3.4  Sterile Product

34

 

ครั้ง

    3.5  การแบ่งบรรจุ (Pre-packing)

 

สนับสนุน

 

           - ยาเม็ด

35

 

ครั้ง (1 ชม.)

           - ยาน้ำ

36

 

ครั้ง (1 ชม.)

           - ยาครีม

37

 

ครั้ง (1 ชม.)

4.  จ่ายยาผู้ป่วยนอก

40

บริการ

 

     4.1  กรณีจ่ายยาในเวลาราชการ

41

 

ใบสั่ง

     4.2  กรณีจ่ายยานอกเวลาราชการ

42

 

ใบสั่ง

5.  จ่ายยาผู้ป่วยใน

50

บริการผู้ป่วย

 

     5.1 กรณีจ่ายยาตามใบสั่ง

51

 

ใบสั่ง

     5.2 กรณี Daily dose

52

 

รายการ

     5.3 กรณี Unit-dose

53

 

รายการ

กิจกรรม

รหัส

ประเภทงาน

หน่วยนับ

6.  Counseling โรคเรื้อรังและยาที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ

60

บริการผู้ป่วย

ครั้ง

7.  Acute Care

70

บริการผู้ป่วย

 

    7.1  Ward round

71

 

ครั้ง

    7.2  Chart review

72

 

ครั้ง

    7.3  Discharge Counseling

73

 

ครั้ง

8.  Aseptic Dispensary

80

บริการผู้ป่วย

 

    8.1  Cytotoxic drugs

81

 

รายการ

    8.2  TPN

82

 

รายการ

    8.3  Extemporaneous

83

 

รายการ

    8.4  IV Admixture

84

 

รายการ

9.  ADR Monitoring

90

บริการผู้ป่วย

คน

10.  TDM

100

บริการผู้ป่วย

คน

11.  DUE

110

สนับสนุน

รายการ

12.  ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านยา

120

สนับสนุน

ครั้ง (10 นาที)

 

 

รูปที่ 1  การคำนวณต้นทุนรอบที่หนึ่ง

รูปที่ 2 การคำนวณต้นทุนรอบที่สอง

รูปที่ 3 การคำนวณต้นทุนรอบที่สาม

 

รูปที่ 4 การคำนวณต้นทุนรอบที่สี่

 

 

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

7. การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโครงการบริการวัคซีนแห่งชาติ
3

การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโครงการบริการวัคซีนแห่งชาติ

การออกแบบการวิจัย

รูปแบบการศึกษาเป็นการคำนวณต้นทุนของโครงการด้านสุขภาพ ซึ่งพิจารณากรอบ 4 มิติได้แก่ หน่วยงานปฏิบัติ รายการกิจกรรม องค์ประกอบของต้นทุน และผลผลิต โดยมีกรอบเวลาของต้นทุนในปีงบประมาณ 2551 ในมุมมองของรัฐผู้จัดบริการ

ขอบเขต

หน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินงานแบ่งออกเป็น

·          ระดับส่วนกลาง ได้แก่ กลุ่มเภสัชกรรม สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

·          ระดับส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

          มีขอบเขตในการคำนวณต้นทุนการจัดหาและสนับสนุนวัคซีนตามแนวคิดโลจิสติกส์ในขบวนการจัดซื้อ จัดหา การจัดเก็บ การจัดการสินค้าคงคลัง และการขนส่ง โดยจะไม่คำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ไปจนถึงหน่วยที่ให้บริการฉีดวัคซีน เพราะจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการคำนวณต้นทุนของการฉีดวัคซีน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการคำนวณไว้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการบริการของสถานพยาบาลแล้ว   

กิจกรรมที่ครอบคลุมในการวิเคราะห์ ได้แก่

1.         การจัดซื้อ/จัดหาวัคซีน

2.         การเก็บรักษาวัคซีนในส่วนกลางและการเบิกจ่าย

3.         การขนส่งวัคซีนจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค

4.         การเก็บรักษาวัคซีนในส่วนภูมิภาคและการเบิกจ่าย

องค์ประกอบของต้นทุน

ต้นทุนที่ศึกษาประกอบด้วย

1.         ต้นทุนทางตรง

1.1  ต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost) ประกอบด้วยมูลค่าพื้นที่ตึกสำนักงานที่ใช้ในการขนส่งวัคซีน มูลค่าห้องเย็น มูลค่าครุภัณฑ์ที่ใช้ในสำนักงานที่ทำการขนส่งวัคซีนที่ประกอบไปด้วย ครุภัณฑ์สำนักงาน ตู้เย็น รถขนวัคซีน รถเข็น เครื่องสำรองไฟ

1.2  ต้นทุนค่าวัสดุ (Material cost) ประกอบด้วยมูลค่าวัสดุสำนักงานที่ใช้ในการขนส่งวัคซีนโครงการ EPI  มูลค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ

1.3  ต้นทุนค่าแรง (Labour cost) ค่าแรงของเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานในการขนส่งวัคซีน โดยจำแนกที่มาของค่าแรงว่ามาจากแหล่งใดบ้าง เช่น ค่าแรงประกอบด้วยเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา ค่าสวัสดิการต่างๆ

2.         ต้นทุนทางอ้อมจากหน่วยสนับสนุน (ฝ่ายบริหาร)

ขั้นตอนการคำนวณ               

การคำนวณแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1.         การคำนวณต้นทุนทางตรง

1.1    ค่าลงทุน ได้แก่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ที่ใช้ในงาน EPI คำนวณโดยอ้างอิงหลักการทางเศรษฐศาสตร์

1.2    ค่าแรง ได้แก่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าสวัสดิการ

1.3  ค่าวัสดุ แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มคือ ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และค่าวัสดุทั่วไป  โดยในการคำนวณค่าวัสดุทั่วไปส่วนใหญ่จะมีข้อมูลที่หน่วยงาน EPI ได้เบิกไปใช้เท่าใด ก็ให้นำมูลค่าวัสดุนั้นไปใช้ได้เลย  ส่วนค่าสาธารณูปโภคจะกระจายมูลค่านั้นให้กับหน่วยงาน EPI

2.         การคำนวณต้นทุนทางอ้อม

2.1    กำหนดให้หน่วยงานฝ่ายบริหารเป็นหน่วยงานสนับสนุน

2.2  คำนวณต้นทุนทางตรงของหน่วยงานฝ่ายบริหาร โดยวิธีการคำนวณจะดำเนินการทำนองเดียวกับวิธีคำนวณต้นทุนทางตรงของหน่วยงาน EPI ซึ่งประกอบไปด้วยค่าลงทุน ค่าแรง ค่าวัสดุ

2.3    กำหนดเกณฑ์การจัดสรรต้นทุนทางตรงของงานฝ่ายบริหารไปให้หน่วยงาน EPI

2.4    คำนวณต้นทุนของงานฝ่ายบริหารไปให้หน่วยงาน EPI ตามสัดส่วนของเกณฑ์การจัดสรร

3.         การคำนวณต้นทุนรวม

4.         การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย

การวิเคราะห์และนำเสนอผล

1.    ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีนต่อโด๊สวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุน = ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีน/จำนวนโด๊สวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุน

2.    ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีนต่อโด๊สวัคซีนที่ได้มีการฉีดจริง = ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีน /จำนวนโด๊สวัคซีนที่ได้มีการฉีดจริง

3.    ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีนต่อเด็กที่ได้รับวัคซีนในปี พ.ศ.2551 = ต้นทุนโลจิสติกส์ของวัคซีน/จำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนในปี พ.ศ.2551

4.         ต้นทุนส่วนเพิ่มกรณีมีการขยายชนิดวัคซีน

5.    สัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อมูลค่าวัคซีน  มูลค่าที่นำเสนอได้ปรับจากของปี พ.ศ.2551 ที่ทำการวิเคราะห์เป็นของปี พ.ศ.2552 ด้วยดัชนีราคาผู้บริโภครวม

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

8. การวิเคราะห์ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์
3

การวิเคราะห์ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์

รูปแบบการวิจัย

          การศึกษาต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive study)

การคัดเลือกตัวอย่าง

คัดเลือกโรงพยาบาลเข้าร่วมโดยอิงความสะดวก (Convenience sampling) แต่ให้กระจายอยู่ในภาคต่างๆ ของประเทศ และคัดเลือกผู้ป่วยโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ (Systematic sampling) เพื่อให้ได้ผู้ป่วยกระจายอยู่ตลอดช่วงเวลาให้บริการของแต่ละวัน

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย (Inclusion criteria)

·          เป็นผู้มารับบริการที่หน่วยผู้ป่วยนอก อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ

-        เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยออก (Exclusion criteria)

·          เป็นผู้มาตรวจร่างกายประจำปี หรือขอใบรับรองแพทย์

·          เป็นผู้มาฉีดยา ล้างแผลตามกำหนดนัด

-        เกณฑ์ยุติการเข้าร่วมวิจัย (Termination criteria)

·          ผู้ร่วมวิจัยไม่ยินดีให้สัมภาษณ์จนสิ้นสุด

การคำนวณขนาดตัวอย่างและจำนวนตัวอย่าง

เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ซึ่งไม่เคยมีการวิจัยเช่นนี้มาก่อน จึงกำหนดขนาดตัวอย่างตามงบประมาณและเวลา โรงพยาบาลละ 100 คน สถานีอนามัยอำเภอละ 2 แห่ง แห่งละ 50 คน จากโรงพยาบาลทั่วไป 3 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง สถานีอนามัย 6 แห่ง รวมตัวอย่างที่สัมภาษณ์ 900 คน

พื้นที่วิจัย

พื้นที่เก็บข้อมูล ได้แก่ รพ.ฉะเชิงเทรา รพ.อุดรธานี รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รพ.ดอนพุด จังหวัดสระบุรี  รพ.โนนไทย จังหวัดนครราชสีมา  รพ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  สถานีอนามัย อ.ดอนพุด จังหวัดสระบุรี  สถานีอนามัย อ.โนนไทย จังหวัดนครราชสีมา  และสถานีอนามัย อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ขอบเขตการวิจัย

ข้อมูลการเดินทางมารับการรักษาประกอบด้วยระยะทาง ค่าเดินทาง เวลาที่ใช้ ค่าอาหาร จำนวนญาติที่เดินทางมาด้วย

วิธีการเก็บข้อมูล

เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face-to-face interview) ตามแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดโครงสร้างล่วงหน้า

การวิเคราะห์และนำเสนอผล

นำเสนอผลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ต้นทุนที่นำเสนอเป็นมูลค่าของปี พ.ศ.2552

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

9. ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนค่าลงทุนและต้นทุนทางอ้อม
3

         ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนค่าลงทุนและต้นทุนทางอ้อม

ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนค่าลงทุน

          สำหรับการคำนวณค่าลงทุนของสินทรัพย์ถาวรโดยอิงหลักเศรษฐศาสตร์ โดยใช้อัตราลดร้อยละ 3 ตามข้อแนะนำของคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ [29] โดยใช้เกณฑ์อายุการใช้งานสินทรัพย์ถาวร ที่กำหนดโดยสํานักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ กลุ่มมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ กระทรวงการคลัง [30] ในการคำนวณที่อิงแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งต้องมีการปรับมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนจากปีที่ซื้อ เป็นมูลค่าของปีที่วิเคราะห์ต้นทุน โดยใช้สูตรดังนี้

มูลค่าของปีที่วิเคราะห์ = มูลค่าเดิมที่ซื้อมา x ปัจจัยการปรับค่าเงินเฟ้อ

                   ปัจจัยการปรับค่าเงินเฟ้อ (Inflation adjustment factor)

                   = ดัชนีราคาของปีที่วิเคราะห์/ดัชนีราคาของปีที่ซื้อมา

ค่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ใช้ในการปรับให้ใช้ดัชนีรวมทุกรายการ สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า (http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/TableIndexG_region_y.asp?year_base=2550&province_code=5) [31]

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

10. ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนทางอ้อม
ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนทางอ้อม

ค่าอ้างอิงในการคำนวณต้นทุนทางอ้อม

ในการคำนวณผลิตผลที่สูญเสียไปจากการเสียเวลาทำงานอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย โดยการใช้รายได้จริงที่สูญเสียไปมีข้อด้อยในแง่จริยธรรม เพราะหากเปรียบเทียบภาระโรคระหว่างโรคที่เกิดในหมู่ผู้ที่มีฐานะดีจะมีขนาดภาระโรคสูงกว่าโรคที่เกิดในหมู่คนจน แม้ว่าจำนวนเวลาที่ขาดงานจะเท่ากัน ฉะนั้นจึงมีข้อแนะนำให้แปลงเป็นมูลค่าทางการเงินด้วยค่าอ้างอิงค่าแรงหรือรายได้เฉลี่ย [32] โดยกรณีที่มีหน่วยนับเป็นวันให้ใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงแรงงาน [33]  ในส่วนของการขาดงานที่มีหน่วยนับเป็นปีให้ใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อหัว (หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ซึ่งจัดทำโดยสำนักบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (รายได้ประชาชาติของประเทศไทย ฉบับ พ.ศ.2551 Table 3.  Gross National Product and National Income  http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=94) [34] กำหนดช่วงวัยทำงาน 15-60 ปีเท่ากันทั้งเพศหญิงและชาย และเท่ากันทุกช่วงอายุ ตามข้อแนะนำของคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย  การประมาณการค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวในอนาคต ทำโดยปรับอัตราเพิ่มเฉลี่ยคงที่ต่อปี ซึ่งได้มาจากค่าอัตราเพิ่มเฉลี่ยในอดีต จากนั้นปรับลดเป็นมูลค่าในปีที่วิเคราะห์ด้วยอัตราร้อยละ 3 [29]

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

11. วิจารณ์และเสนอแนะ
วิจารณ์และเสนอแนะ

วิจารณ์และเสนอแนะ

การจัดทำรายการต้นทุนมาตรฐานเพื่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพครั้งนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย จึงยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ได้แก่ ข้อมูลราคาเรียกเก็บค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุขและกรมบัญชีกลางที่นำมาใช้จัดทำรายการค่าต้นทุนสัมพัทธ์ เป็นลักษณะการจัดทำโดยคณะทำงานย่อย ซึ่งแต่ละคณะทำงานอาจใช้วิธีการย่อยที่แตกต่างกัน จึงทำให้ต้นทุนของบริการต่างกลุ่มบริการที่มาจากต่างคณะทำงานไม่สัมพัทธ์กันทั้งหมด ข้อจำกัดอีกข้อหนึ่งคือ จำนวนโรงพยาบาลที่ใช้เป็นตัวอย่างในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเป็นโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์จำนวน 3 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง แม้ว่าโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นโรงพยาบาลที่มีเกณฑ์ประสิทธิภาพระดับดี แต่อาจมีจำนวนน้อยไปในการเป็นตัวแทนของประเทศ  ในส่วนของต้นทุนต่อหน่วยที่คำนวณได้พบว่า ต้นทุนของโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์มากกว่าของโรงพยาบาลชุมชนไม่มากนัก ทั้งที่อัตราเงินเดือนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์สูงกว่าของโรงพยาบาลชุมชนมาก  เหตุที่ผลการคำนวณออกมาในลักษณะที่ต้นทุนไม่แตกต่างกันมากนักอาจมาจากการที่ผลผลิตของโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์มีจำนวนมากด้วย จึงทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง  นอกจากนี้ยังพบว่ารายการกิจกรรมบริการที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุขนั้นยังไม่ครอบคลุมรายการที่โรงพยาบาลให้บริการ  ในการศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำรายการเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจมีปัญหาว่าภายใต้ชื่อการบริการเดียวกัน อาจมีรายละเอียดการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งรายการที่มีอยู่ในบัญชีราคาค่าบริการแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่จะให้บริการที่แตกต่างกันไป ฉะนั้นการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการทางการแพทย์นี้  ควรมีการทบทวนเป็นระยะๆ โดยให้มีการกำหนดรายละเอียดมาตรฐานของแต่ละกิจกรรมบริการไว้ด้วย รวมทั้งให้มีการกำหนดใช้รหัสกิจกรรมบริการเหมือนกันทุกโรงพยาบาล จะทำให้การปรับปรุงรายการต้นทุนมาตรฐานในอนาคตนั้นง่ายขึ้น

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก

12. อ้างอิง
อ้างอิง

อ้างอิง

1. Rizzo JD.; Powe NR. Methodological hurdles in conducting pharmacoeconomic analyses. Pharmacoeconomics. 1999; 15(4) : 339-55.

2. Cairns J. Discounting in economic evaluation. In: Drummond M.; McGuire A., editors. Economic evaluation in health care; merging theory with practice. Oxford: Oxford University Press, 2001.

3. Riewpaiboon A.; Malaroje S.; Kongsawatt S. Effect of costing methods on unit cost of hospital medical services. Trop Med Int Health. 2007; 12(4) : 554-63.

4. Brouwer W.; Rutten F.; Koopmanschap M. Costing in economic evaluations. In: Drummond M.; McGuire A., editors. Economic evaluation in health care - merging theory with practice. New York: Oxford University Press, 2001.

5. Luce BR.; Manning WG.; Siegel JE.; Lipscomb J. Estimating costs in cost-effectiveness analysis. In: Gold MR.; Sigel JE.; Russell LB.; Weinstein MC., editors. Cost-effectiveness in health and medicine. Oxford: Oxford University Press, 1996.

6. Riewpaiboon A. Measurement of costs. J Med Assoc Thai. 2008; 91(Suppl. 2) : S28-37.

7. Mogyorosy Z.; Smith P. The main methodological issues in costing health care services; a literature review. York: Centre for Health Economics The University of York, 2005.

8. วรศักดิ์ ทุมมานนท์. ระบบการบริหารต้นทุนกิจกรรม Activity based costing; ABC. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไอโอนิค, 2544.

9. Drummond MF.; Sculpher MJ.; Torrance GW.; O'Brien BJ.; Stoddart GL. Methods for the economic evaluation of health care programmes third edition. second ed. Oxford: Oxford University Press, 2005.

10. Kumaranayake L. The real and the nominal?  Making inflationary adjustments to cost and other economic data. Health Policy Plan. 2000; 15(2) : 230-4.

11. Edejer TT-T.; Baltussen R.; Adam T.; Hutubessy R.; Acharya A.; Evans DB.; et al. Making choices in health: WHO guide to cost-effectiveness analysis. Geneva: World Health Organization, 2003.

12. Leaner WM.; Wellman WL.; Burik D. Pricing hospital units of service using microcosting techniques. Hosp Health Serv Adm. 1985; 30(1) : 7-28.

13. Suver JD.; Cooper JC. Principles and methods of managerial cost-accounting systems. Am J Hosp Pharm. 1988; 45 : 146-52.

14. Cooper JC.; Suver JD. Product line cost estimation: a standard cost approach. Healthc Financ Manage. 1988; 42(4) : 60-4

15. Dowless RM. What's the procedure? Your guide to costing methods and terminology. Nurs Manage. 2007; (4) : 52-7.

16.      Dowless RM. Procedure costing flexibility. Healthc Financ Manage. 2007; 61(6) : 103-4.

17. Cost Accounting Workshop: The preparation and development of cost accounting information.  [cited 2007 September 24]; Available from: http://www.health.gov.ua/zpr/101-200/0145/English/caprep.doc.

18. Christie GHW. A guide to cost analysis: developing cost based fees. Syracuse: Health Policy Analysis, Inc., 2008.

19. Hankins RW.; Baker JJ. Management accounting for health care organizations. Sudbury: Jones and Bartlett Publishers, 2004.

20. Baker JJ. Activity-based costing and activity-based management for health care. Dallas: An Aspen Publication, 1998.

21. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2547.

22. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการคลัง, 2549.

23. กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์. มาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์, 2547.

24. ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร; อาทร ริ้วไพบูลย์; สมพงษ์ ชลคีรี; พันนิภา นวลอนันต์. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการบริการด้านเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสระบุรี ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552.

25. Nedpudsa R. Development of Performance indicators for assessment of hospitals and  health centers in Thailand. Bangkok: Mahidol University, 2009.

26. อาทร ริ้วไพบูลย์; สุกิจ พึ่งเกศสุนทร; ขวัญเดือน อินทรประการ; สรัญญา มาลาโรจน์; จันทร์เพ็ญ กิติโสภากุล. โครงการวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วย โรงพยาบาลสระบุรี ปีงบประมาณ 2545. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546.

27. Drug and Medical Supply Information Center. Prices of drugs and medical supply.   [cited 2010 October 4]; Available from: http://dmsic.moph.go.th/price.htm.

28. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, บรรณาธิการ. ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนของสถานพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ครั้งที่ 3; 2550; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

29. อาทร ริ้วไพบูลย์. การประเมินต้นทุน. ใน: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว; ยศ ตีระวัฒนานนท์; สิริพร คงพิทยาชัย; เนติ สุขสมบูรณ์, บรรณาธิการ. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

30. สํานักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ กลุ่มมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ. หลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร, 2546.

31. Ministry of Commerce. Report for consumer price index of Thailand.  [cited 2010 October 30]; Available from: http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/TableIndexG_region_y.asp?year_base=2550&province_code=5

32.Pritchard C.; Sculpher M. Productivity costs: principles and practice in economic evaluation. London: Office of Health Economics, 2000.

33.Department of Labour Protection and Welfare Ministry of Labour. Minimum wage rates (in Thai language).  [cited 2011 February 2]; Available from: http://www.labour.go.th/ news/file/minimumWage.pdf.

34.Office of the National Economic and Social Development Board. National income of Thailand.  [cited 2010 October 20]; Available from: http://www.nesdb.go.th/ Default.aspx?tabid=94.

 

 

กลับขึ้นสู่เมนูหลัก